โครงถัก โครงหลังคาสำเร็จรูปซิกม่าทรัส (SigmaTruss)
โครงถัก (Truss) คือโครงสร้างซึ่งประกอบขึ้นโดยการยึดปลายทั้งสององค์อาคารเส้นตรงต่อกันเพื่อส่ง แรงผ่านระหว่างองค์อาคาร โดยอาจยึดติดกันโดยการเชื่อมหรือใช้สลักเกลียว โครงสร้างที่นิยมทำ เป็นโครงถัก ได้แก่ สะพาน และ โครงหลังคา รูปทรงพื้นฐานของโครงถักจะเป็นรูปสามเหลี่ยมประกอบด้วยองค์อาคารอย่างน้อย 3 ท่อน โดยยึดปลายต่อกันแบบจุดหมุนดังแสดงในรูปที่ (ก) ซึ่งจะเป็นรูปทรงที่มีเสถียรภาพต้านทานแรง ที่มากระทำให้เปลี่ยนรูปร่าง เมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นในรูปที่ (ข) และ (ค)
การต้านทานแรง ของโครงถัก หรือโครงหลังคาสำเร็จรูป แต่ละรูปทรง สำหรับโครงหลังคาที่มีช่วงความยาวมากขึ้นจะทำเป็นโครงถักซึ่งประกอบด้วย จันทัน (Top Chord), ขื่อ (Bottom Chord), ท่อนยึดดิ่ง (Vertical Member) และ ท่อนยึดทแยง (Diagonal Member) โดยจันทันจะทำหน้าที่รับแรงอัดเป็นหลัก ขื่อทำหน้าที่รับแรงดึง ส่วนท่อนยึดระหว่างขื่อ และจันทันอาจรับแรงอัดหรือแรงดึงแต่ไม่มาก เท่าจันทันและขื่อ ดังนั้นจึงมักมีขนาดเล็กกว่า
เพื่อให้แรงในองค์อาคารมีเฉพาะแรงตามแนวแกน จึงต้องจัดวางให้แนวเส้นศูนย์กลางขององค์ อาคารมาบรรจบที่จุดเดียวกันซึ่งโดยทั่วไปจะสมมุติว่าเป็นจุดต่อแบบหมุน (pinned) ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เป็นไปตามสมมุติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงถัก โครงหลังคาสำเร็จรูป Sigmatruss การจัดแนวศูนย์กลางองค์อาคารที่จุดต่อ
รูปแบบของโครงถัก
รูปแบบโครงถัก ที่มักนิยมนำมาใช้เป็นโครงหลังคาในประเทศไทยมีดังนี้ โครงถักแบบโฮว์ (Howe Truss) จันทันเอียงเป็นจั่วสองข้างเท่ากัน ขื่ออยู่ในแนวราบ มีท่อนยึดดิ่ง ระยะห่างเท่ากัน และมีท่อนยึดทแยงเอียงลงเข้าหากึ่งกลางช่วง โดยมีรูปร่างตามช่วงความยาวที่ เพิ่มขึ้นดังในรูป
โครงถักแบบโฮว์ยกระดับ มักนิยมในโครงหลังคาช่วงยาวเช่นในโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้า
โครงถักคอร์ดเอียงขนาน ขื่อจะเอียงขนานกับจันทัน ทำให้มีช่องว่างความสูงมากขึ้น
โครงถักแบบเอียงต่างมุม (Dual Pitch) มักใช้เป็นหลังคาอาคารตึกแถว โดยเอียงชันทางด้านหน้า แล้วลาดเทลงยาวด้านหลัง
โครงถักแบบโค้ง (Curved Truss) นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้แผ่นเหล็กรีดรอนมุง หลังคาซึ่งสามารถดัดโค้งได้